Home » ข้อควรระวังเพื่อความปลอดภัยเมื่อทำงานกับสารเคมี
ข้อควรระวังเพื่อความปลอดภัยเมื่อทำงานกับสารเคมี

ข้อควรระวังเพื่อความปลอดภัยเมื่อทำงานกับสารเคมี

by admin
104 views

การทำงานกับสารเคมี ข้อควรระวังเกี่ยวกับสารเคมี ในการทำงานเพื่อความปลอดภัย มีอะไรบ้าง

มีคนงานในอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ทำงานโดยใช้สารเคมีเป็นประจำในที่ทำงาน การทำงานกับสารเคมี สามารถก่อให้เกิดอันตรายทั้งต่อสุขภาพและร่างกาย ซึ่งนายจ้างมีหน้าที่รับผิดชอบในการระบุอันตรายและกำหนดมาตรการป้องกันเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน

การสัมผัสสารเคมีสามารถนำไปสู่ผลกระทบต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาว สารเคมีสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ 4 ทาง คือ การหายใจ การสัมผัสทางผิวหนังหรือตา การกลืนกิน และการฉีด

การสัมผัสสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาในระหว่างการใช้งาน การจัดเก็บ และการขนส่งสารเคมี การฝึกอบรมพนักงานให้เข้าใจถึงอันตรายเหล่านี้และให้รู้ถึงวิธีตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉินมีความสำคัญอย่างยิ่ง นอกจากนี้นายจ้างต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดทางกฎหมายเพื่อให้แน่ใจว่าสถานที่ทำงานมีความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมี ต่อไปนี้คือข้อควรระวังเพื่อความปลอดภัยเมื่อทำงานกับสารเคมี ในที่นี้ไม่ได้จัดลำดับความสำคัญว่าข้อใดสำคัญมากหรือสำคัญน้อย แต่ทุกข้อที่จะพูดถึงต่อไปนี้มีความสำคัญทั้งสิ้น นี่คือ

กฎการจัดการสารเคมีอย่างปลอดภัย

กฎการจัดการสารเคมีอย่างปลอดภัย

  • มีความตระหนัก ระมัดระวัง และวางแผนล่วงหน้าก่อนการทำงานกับสารเคมีทุกครั้ง อย่าคิดว่าอายุงานมาก ทำงานมานาน แล้วจะสามารถทำงานได้ปลอดภัยในทุกครั้ง
  • ปฏิบัติตามขั้นตอนการทำงานที่กำหนดไว้ในบริษัทและปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับการฝึกอบรมมาแล้ว หากไม่แน่ใจให้ศึกษาจนมั่นใจว่าเข้าใจดีแล้ว จึงเริ่มลงมือทำงานกับสารเคมี อย่าลองผิดลองถูก เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายร้ายแรงได้
  • อ่านฉลากและเอกสารข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมี (SDS : Safety Data Sheet) เพื่อทำความเข้าใจถึงรายละเอียดของสารเคมี อันตรายและข้อควรระวังก่อนเริ่มทำงาน
  • สวมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (PPE) ที่จำเป็นเสมอและตลอดเวลาที่ต้องทำงานกับสารเคมี ตามหลักการทั่วไป ให้ตรวจสอบ PPE อย่างรอบคอบก่อนใช้งานทุกครั้งและเปลี่ยนใหม่หากชำรุดหรือเสียหายมากเกินไป ไม่ใช้ PPE ที่อยู่ในสภาพที่ไม่พร้อมใช้งาน เพราะอาจทำให้ผู้ปฏิบัติงานได้รับอันตรายมากกว่าเดิม
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าภาชนะบรรจุทั้งหมดติดฉลากอย่างถูกต้องและเหมาะสม หากพบว่าภาชนะบรรจุชำรุดให้รายงานสภาพภาชนะบรรจุที่เสียหายหรือฉลากที่อ่านไม่ออกต่อหัวหน้างานทันที อย่าใช้สารเคมีหากพบว่าไม่ได้บรรจุอย่างปลอดภัยหรือไม่ได้ติดฉลากอย่างถูกต้อ
  • ห้ามใช้สารเคมีเพื่อวัตถุประสงค์อื่นนอกเหนือไปจากวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
  • ห้ามกินอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มทุกชนิดในขณะใช้งานสารเคมี ห้ามใช้เครื่องสำอางหรือจับคอนแทคเลนส์จำไว้เสมอว่ามือของคุณอาจปนเปื้อนหลังจากจับต้องวัสดุและควรทำความสะอาดให้ทั่วถึงด้วยสบู่และน้ำหลังการใช้งานเสร็จสิ้นในทันที
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าจัดเก็บวัสดุอย่างถูกต้องและรู้ว่าวัสดุใดที่ไม่สามารถจัดเก็บรวมกันได้ แยกวัสดุที่เข้ากันไม่ได้และเก็บในบริเวณที่มีอากาศถ่ายเท แห้ง และเย็น
  • ทำความสะอาดพื้นที่ทำงานและตัวผู้ปฏิบัติงานอย่างน้อยหนึ่งครั้งหลังจากเสร็จสิ้นเพื่อลดความเสี่ยงในการปนเปื้อน
  • ทำความเข้าใจสิ่งที่ต้องทำในกรณีฉุกเฉิน ซึ่งหมายถึงการทราบขั้นตอนการอพยพ ขั้นตอนกา
  • รายงาน สิ่งที่ต้องทำในกรณีเกิดไฟไหม้หรือการรั่วไหล และการติดต่อฉุกเฉินทางการแพทย์หากเพื่อนร่วมงานหรือตัวคุณเองอาจได้รับบาดเจ็บหรือสัมผัสกับสารเคมี
  • หากคุณไม่แน่ใจเกี่ยวกับวิธีที่เหมาะสมในการจัดการกับสารเคมีบางชนิด อย่ากลัวที่จะสอบถามหัวหน้างาน และขอคำแนะนำที่ถูกต้องดีกว่ารับข้อมูลผิดๆ หรือลองผิดลองถูกเมื่อทำงานกับสารเคมี

สรุป

การทำงานทุกงานมีความเสี่ยงแต่อาจจะแตกต่างกันออกไปตามลักษณะหรือประเภทของงาน การทำงานกับสารเคมีก็เช่นกัน อาจเกิดอันตรายได้ตลอดเวลาที่ทำงาน จึงจำเป็นต้องมีการกำหนดข้อควรระวังเพื่อใช้เป็นแนวทางในการทำงานกับสารเคมี ก่อนการทำงานกับสารเคมีทุกครั้ง ผู้ปฏิบัติงานต้องได้รับการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยต่างๆ รวมถึงข้อควรระวังเพื่อความปลอดภัยเมื่อทำงานกับสารเคมี เพื่อใช้เป็นแนวทางและสิ่งที่ต้องปฏิบัติเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงานกับตัวผู้ปฏิบัติงานเอง

Related Articles

แหล่งข่าวที่รวบรวมข้อมูลด้านความปลอดภัยในการทำงานที่ทันสมัย.

สามารถติดต่อสอบถามได้หากมีข้อสงสัยโดยไม่มีค่าใช้จ่ายหรือ เมลมาสอบถามเราได้ที่เมลด้านนล่าง เราจะติดต่อกลับหาคุณโดยเร็วที่สุด.

Contact us: [email protected]

@2023 – PenciDesign. All Right Reserved. Designed and Developed by safeactblog